โรคอาร์อาร์ดีหรือโรคจอตาหลุดลอกเป็นภาวะที่จอประสาทตาไม่อยู่ในตำแหน่งปกติเนื่องจากการฉีกขาด ความเสียหายของเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ดึงรั้ง ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคจะมองเห็นจุดสีดำขนาดเล็กไปจนถึงใหญ่ลอยไปมา และยังมองเห็นแสงวูบวาบคล้ายกับฟ้าแลบ แล้วยังมีอาการตามัวในบางเวลา ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาทันเวลาก็จะสูญเสียการมองเห็นไปอย่างถาวร
ถ้าหากมีอาการดังข้างต้นแล้วไปพบจักษุแพทย์เพื่อวินิจฉัยก็จะทำได้หลายวิธีเช่น ตรวจความดันของเหลวในดวงตา การสังเกตจอประสาทตาโดยการกระตุ้นให้ม่านตาขยายออกเพื่อสังเกตลักษณะ และจะใช้คลื่นอัลตราซาวด์ตรวจในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคต้อหรือมีวัตถุบดบังการมองเห็น ปกติแล้วโรคนี้จะไม่เป็นพร้อมกันทั้งสองข้าง แต่เมื่อตรวจพบว่าข้างใดข้างหนึ่งเป็นก็ต้องหาทางป้องกันตาอีกข้างที่เหลืออยู่เพราะมีโอกาสสูงที่ตาอีกข้างจะเป็นโรคโรคอาร์อาร์ดีในอนาคต
การรักษาโรคนี้สามารถทำได้ด้วยวิธีการผ่าตัดเท่านั้น ซึ่งมีทั้งการผ่าตัดด้วยเลเซอร์และการผ่าตัดเพื่อปรับโครงสร้างของตาโดยตรง แต่อย่างไรก็ตามถ้าเป็นโรคนี้มานานจนอาการหนักจะมีโอกาสน้อยที่จะรักษาให้หายขาด ดังนั้นใครที่มองเห็นมองเห็นจุดสีดำ แสงวูบวาบ ตามัว ควรจะรีบเข้าไปพบจักษุแพทย์เพื่อวินิจฉัย ยิ่งตรวจพบเร็วเท่าไหร่ก็มีโอกาศรักษาให้หายขาดแล้วกลับมามองเห็นเป็นปกติมากขึ้น
Author: admin
ต้อหิน
สายตามนุษย์จะเสื่อมสภาพไปตามวัยซึ่งมีโรคที่รุนแรงถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นอยู่ไม่กี่อย่าง หนึ่งในนั้นคือโรคต้อหิน ซึ่งแบ่งเป็นต้อหินเรื้อรังและต้อหินเฉียบพลัน โรคต้อนั้นเป็นโรคที่รักษาไม่หายทำได้แค่เพียงชะลอเวลาให้สูญเสียการมองเห็นให้ช้าลง ผู้ป่วยจำนวนมากขาดความเข้าใจเกี่ยวกับโรคต้อหินจึงละความพยายามในการรักษาจนสุดท้ายก็ตาบอดอย่างรวดเร็ว
โรคต้อหินเรื้อรังติดต่อกันได้ผ่านทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่น ถึงแม้ภายในวงศ์เครือญาติจะมีคนที่เคยเป็นโรคนี้เพียง 1 คนในหลายสิบรุ่นผู้ที่สืบทอดสายเลือดมาก็ยังมีโอกาสเป็นโรคต้อหินอยู่ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุมาจากโรคทางกายที่มีภาวะเรื้อรังเช่น โรคหลอดเลือดโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมัน เบาหวาน ตลอดถึงการใช้ยาบางชนิดที่ส่งผลต่อการทำงานของดวงตาติดต่อกันเป็นเวลานานจนในที่สุดก็กลายเป็นโรคต้อหินเรื้อรัง
ต้อหินฉับพลันเป็นโรคที่มีความรุนแรงมาก ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็นไปในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งมีสาเหตุมาจากระบบไหลเวียนของเหลวในดวงตาทำงานผิดปกติ ทำให้ตามีความดันสูงมากจนกระจกตาได้รับความเสียหาย แต่โรคต้อหินเฉียบพลันจะเกิดขึ้นได้กับคนที่มีความผิดปกติเชิงโครงสร้างของลูกตาเท่านั้น
คนเป็นโรคต้อหินทั้งสองชนิด มักมีภาวะปวดตา ปวดศีรษะ ตาแดงและตามัว ในกรณีของโรคต้อหินเรื้อรังมีระยะเวลาประมาณ 10 ปีก่อนที่ตาจะบอดสนิท แต่สำหรับโรคต้อหินฉับพลันถ้ามีอาการแล้วได้รับการรักษาไม่ทันก็จะเสียการมองเห็นไปทันที
สายตาเอียง
สายตาเอียงเกิดจากดวงตาได้รับการบาดเจ็บหรือมีพื้นผิวไม่สม่ำเสมอจนแนวแสงแต่ละจุดที่ตกกระทบผ่านเลนส์ตาหักเหไปคนละทิศทางจนแสงที่ผ่านมาถึงจอประสาทตาจะมีโฟกัสไม่ชัดเจน อาการสายตาเอียงนั้นแก้ได้ยากส่วนใหญ่แล้วมักจะเลือกแก้ไขด้วยการผ่าตัด เพราะสะดวกสบาย มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำต่ำ แต่คนที่ไม่อยากรับการผ่าตัดก็สามารถใช้คอนแทคเลนส์แบบสั่งทำพิเศษได้เหมือนกัน ซึ่งอาจจะสร้างความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันอยู่บ้าง
โรคสายตาเอียงไม่สามารถแก้ได้ด้วยการใส่แว่นตา เพราะว่าผิวของแว่นตาไม่ได้สัมผัสกับเลนส์ตาโดยตรงถึงแม้จะสามารถปรับจุดโฟกัสให้ตกกระทบบนจอประสาทตาอย่างชัดเจน แต่ภาพที่จอประสาทตารับได้ก็จะมีตำแหน่งผิดเพี้ยนไปจากปกติ ซึ่งคนที่มีสายตาเอียงแล้วเลือกใส่แว่นตาจะต้องใช้เวลาปรับตัวนานพอสมควร
คนที่มีสายตาเอียงเล็กน้อย ถ้าไม่ได้ใช้ชีวิตเกี่ยวกับการเพ่งสายตาเป็นประจำอย่างการอ่านหนังสือ พิมพ์เอกสาร ก็ไม่จำเป็นต้องรักษาเพราะสายตาสามารถปรับจุดโฟกัสให้ชัดได้ แต่อาจมีอาการเมื่อยล้าจากการใช้งานดวงตาหนัก และสำหรับคนที่เอียงมาก ๆ จะมีอาการปวดตา ปวดศีรษะ ไปจนถึงการปวดลำคอที่ต้องหันไปมองดูวัตถุให้ชัดเจนมากขึ้น
มีคนจำนวนมากที่คิดว่าตัวเองเป็นโรคสายตาสั้น จ้องมองวัตถุใกล้ ๆ เพื่อให้เห็นชัด แต่คนเหล่านี่อาจเป็นโรคสายตาเอียง เพราะทั้งสองโรคนี้มีความแตกต่างกัน ส่วนเรื่องการจ้องมองวัตถุใกล้ ๆ นั้นก็เพื่อขยายภาพของวัตถุให้ใหญ่จนมองง่ายขึ้นเท่านั้น
สายตาสั้น
โรคสายตาสั้นไม่เหมือนกับโรคสายตายาว เพราะคนที่สายตาสั้นจะสามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ในระยะใกล้ ๆ ได้ แต่ถ้าวัตถุอยู่ไกลจะมองไม่ค่อยเห็น สายตาสั้นนั้นเกิดจากแสงมีจุดโฟกัสตกกระทบก่อนถึงจอประสาทตา ทำให้แสงที่มาถึงประสาทตานั้นกลายเป็นภาพเบลอ ปกติแล้วคนเราจะมีความสามารถในการปรับระยะโฟกัสในการมองเห็นอยู่ที่ 63 ไดออปเตอร์หรือ 63 เมตร คนสายตาสั้นจะมีค่าไดออปเตอร์ต่ำกว่านี้ จะแตกต่างกันไปตามความรุนแรงของโรคแต่ละคน
ตั้งแต่เป็นทารกจนถึงวัยเจริญพันธุ์ ค่าไดออปเตอร์ของสายตาของมนุษย์จะมีการปรับเปลี่ยนไปมาที่ประมาณ 8 ไดออปเตอร์ คนที่มีอายุในช่วงนี้แล้วมีอาการสายตายสั้นจะแก้ได้ด้วยการใส่แว่นตาและคอนแทคเลนส์ เพราทางการแพทย์ไม่ถือว่าเป็นโรคสายตาสั้น โดยค่าไดออปเตอร์จะคงที่เมื่อถึงวัยผู้ใหญ่(อายุประมาณ 20ปี) แต่สำหรับคนสายตาสั้นค่าไดออปเตอร์จะลดต่ำลงเรื่อย ๆ ซึ่งคนที่โตเต็มที่แล้วแต่ค่าไดออปเตอร์ไม่หยุดเปลี่ยนแปลงแบบนี้เรียกว่าคนเป็นโรคสายตาสั้น
การรักษาโรคสายตาสั้นแบบถาวรก็สามารถทำได้ด้วยวิธีการ ผ่าตัดทำเลสิค การผ่าตัดด้วยเลเซอร์ แต่คนที่ไม่ต้องการผ่าตัดก็สามารถใส่แว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์แทนได้
คนสายตาสั้นมักจะเพ่งมองวัตถุใกล้ ๆ กับหน้าโดยเฉพาะการอ่านหนังสือ การเล่นโทรศัพท์ การดูทีวี ทำให้ประสาทตาทำงานหนักและเป็นสาเหตุของการปวดศีรษะเป็นประจำ นอกจากนี้เด็กที่เป็นสายตาสั้นยังมีโอกาสเป็นโรคกุ้งยิงมากกว่าปกติอีกด้วย
สายตายาว
สายตายาวเป็นภาวะแสงตกกระทบไม่ตรงจุดจอประสาทตาโดยจุดโฟกัสจะอยู่ตั้งแต่หลังจอประสาทตาเป็นต้นไป หลายคนเข้าใจผิดว่าคนสายตายาวจะมองเห็นได้ใกลกว่าคนทั่วไป แต่ความจริงคือไม่ว่าจะระยะใหนคนสายตายาวก็มองเห็นไม่ชัดอยู่ดี
สายตายาวมีสิทธิ์เกิดขึ้นกับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่โครงสร้างกะโหลกศีรษะเปลี่ยนไปจนรักษาสภาพรูปทรงของดวงตาไม่ได้ ซึ่งผลที่ตามมาคือจุดโฟกัสของแสงตกกระทบไม่ตรงกับจอประสาทตา แต่ในทางการแพทย์จะไม่นับผู้สูงอายุเหล่านี้เป็นผู้ป่วยสายตายาวแต่จะเรียกว่า “สายตาผู้สูงอายุ” ซึ่งภาวะสายตายาวนั้นจะใช้เรียกเฉพาะคนที่มีอายุไม่เกิน 40 ปี โดยประมาณ
ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการมองเห็นคือ “ไดออปเตอร์” ซึ่งเป็นค่าบอกถึงความสามารถในการหักเหแสง ในกรณีของดวงตานั้นหมายถึงประสิทธิภาพการปรับโฟกัส ค่าไดออปเตอร์จะเพิ่มขึ้นเมื่อถึงวัยหนุ่มสาวแล้วลดน้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น โดยปกติมนุษย์จะมีกำลังการเพ่งสายตารวมประมาณ 63 ไดออปเตอร์
นอกจะการมองเห็นไม่ชัดแล้ว คนสายตายาวมักจะมีอาการปวดศีรษะบริเวณหน้าผากเมื่อใช้สายตามากเกินไป ประกอบกับตาไม่สู้แสง และในบางคนเวลาเพ่งไปยังวัตถุจะมีลักษณะคล้ายกับตาเขอีกด้วย
การรักษาสายตายาวทำได้หลายวิธี เช่น ผ่าตัดทำเลสิค การลอกผิวกระจกตา การผ่าตัดด้วยเลเซอร์ วิธีเหล่านี้เป็นการรักแบบหายขาดแต่ก็มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำ ดังนั้นหลายคนที่กลัวการผ่าตัดก็เลือกใส่แว่นสายตา และ การใส่คอนแทคเลนส์ปรับผิวกระจกตา
มะเร็งดวงตาในเด็ก
โรคมะเร็งดวงตาในเด็กที่เป็นโรคร้ายแรงจะต้องได้รับการรักษาอย่างด่วนที่สุด ถ้าได้รับการรักษาไม่ทันเวลาสามารถทำให้เด็กคนนั้นมีตาบอดถาวรไปตลอดชีวิต
โรคมะเร็งดวงตาในเด็กหรือบางคนก็เรียกว่า โรคตาวาว โรคตาแมว ซึ่งจะพบในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปีผู้ปกครองควรสังเกตการสะท้อนแสงของสายตาเด็กในที่มืดที่จะเห็นได้ชัดมากเด็กที่มีโรคนี้สายตาจะวาวแสง หรือสังเกตจากลักษณะการมองเห็นของเด็กที่ไม่ปกติ จะมีดวงตาเลื่อนลอยเพราะการมองไม่ค่อยเห็น
ปกติแล้วแสงที่ตกกระทบเข้าไปในดวงตาจะสะท้อนไปมาเป็นเส้นตรง ซึ่งตรงข้ามกันเด็กที่เป็นโรคมะเร็งดวงตา ซึ่งโรคนี้มีสาเหตุมาจากความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด น้ำวุ้นในตาเสื่อมสภาพ จอตาเสื่อม การได้รับอุบัติเหตุบริเวณดวงตา การอักเสบรุนแรงเป็นหนอง การคลอดก่อนกำหนด และนอกจากนี้ยังสามารถติดต่อทางพันธุกรรมได้ โดยโรคมะเร็งดวงตาในเด็กมีโอกาสเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ซึ่งมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของสารพันธุกรรมในยีนเด่น
โรคมะเร็งจอตาเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในเด็กเล็กอายุไม่เกิน 3 ปี ซึ่งติด 3 อันดับแรกอยู่เสมอโดยที่ค่าเฉลี่ยนี้ไม่ได้ขึ้นกับเชื้อชาติหรือว่าเพศ เพราส่วนใหญ่โรคนี้จะก่อตัวมาตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์แล้ว
เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งดวงตาในเด็กจะเร่งดำเนินการรักษาทันทีซึ่งมีทั้งการผ่าตัดการใช้เลเซอร์และการใช้รังสีเพื่อยับยั้งการลุกลามของมะเร็งไปยังอวัยวะอื่น ๆ ที่สำคัญเช่นไขกระดูกและสมอง
ตาบอดกลางคืน
ตาบอดกลางคืนเป็นภาวะหนึ่งที่ดวงตาไม่สามารถขยายการปรับการรับแสง ทำให้การมองเห็นในบริเวณที่มีแสงน้อยทำได้ลำบาก ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดวิตามินเอ สายตาสั้นมากเกินไป จอประสาทตาเสื่อม
หลายคนคงจะรู้จักกับวิตามินเอเป็นอย่างดีซึ่งมีจุดเด่นในการบำรุงสายตาเป็นหลัก ถ้าหากขาดวิตามินเอจะทำให้เซลล์รูปแท่งที่อยู่ในดวงตาทำงานผิดปกติจนประสิทธิภาพในการมองเห็นในที่มืดลดลงอย่างมาก ปกติในปัจจุบันการขาดวิตามินเอนี้พบได้น้อยมาก ถ้าหากรับประทานอาหารแบบปกติก็ได้รับวิตามินเออย่างเพียงพอแล้ว แต่อย่างไรก็ตามบางคนที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการดูดซึมวิตามินหรือภาวะขาดสารอาหารก็มีโอกาสเกิดกรณีตาบอดกลางคืนจากการขาดวิตามินเอ
สายตาสั้นมาก ทำให้แสงที่ตกกระทบเข้ามาภายในเลนส์ตานั้นมีจุดโฟกัสไม่ถึงกับจอประสาทตาและยังอยู่ไกลจอประสาทตามากทำให้สมองไม่สามารถตีความภาพที่เห็นได้ และส่วนใหญ่แล้วคนที่สายตาสั้นมากจะมีการเสื่อมของเซลล์ดวงตาร่วมอยู่ด้วย
จอตาเสื่อม ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้มองเห็นไม่สะดวกในที่ที่มีแสงน้อย สำหรับคนที่อยู่ในภาวะนี้ส่วนมากจะพบเป็นผู้สูงอายุที่จอดตามเสื่อมไปตามวัย แต่สำหรับคนวัยเจริญพันธุ์ก็มีโอกาสมีภาวะจอตาเสื่อมเหมือนกัน ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายอย่างตั้งแต่อุบัติเหตุ การใช้สารเคมี ไปจนถึงได้รับสืบทอดมาตามพันธุกรรม
ภาวการณ์มองเห็นกลางคืนไม่ชัดนั้นไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง แต่ควรจะไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยว่ามีสาเหตุมาจากอะไร เชื่อได้เลยว่าหลังจากรักษาแล้วการใช้ชีวิตจะมีความสุขมากขึ้น
โรคตาขี้เกียจ
โรคตาขี้เกียจ หรือ แอมไบลโอเปีย หรือ โรคตามัว เป็นโรคที่พบได้เฉพาะในเด็กวัย 2-3 ปีเท่านั้น ซึ่งปกติมีโอกาสน้อยมากที่จะพบโรคนี้ในเด็กที่อายุเกิน 7 ปี เพราะว่าดวงตาของมนุษย์จะมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดหลังจากที่คลอดออกมาจนถึงช่วงอายุประมาณ 5 ปี ถ้าหากในช่วงเวลานี้เด็กไม่หัดใช้ดวงตาหรือมีปฏิสัมพันธ์ทางตาเพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาก็มีโอกาศเป็นโรคนี้
โรคตาขี้เกียจนั้นยังแบ่งสาเหตุออกเป็นอีก 2 กรณี การมีดวงตาที่ผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิดทั้ง 2 ข้างและอีกกรณีคือดวงตาผิดปกติข้างเดียว ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นอาการตาเหล่ ทำให้สมองได้รับภาพจากตาทั้งสองข้างที่ไม่เหมือนกันจึงสับสน ดังนั้นสมองจึงเลือกใช้ภาพที่สมองคิดว่ามองเห็นชัดที่สุด และนี่ก็เป็นสาเหตุให้ดวงตาข้างที่มองเห็นไม่ชัดถูกลดการใช้งานไปเรื่อย ๆ จนมองเห็นภาพที่เป็น 3 มิติ เป็น 2 มิติ ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาถ้าหากในชีวิตประจำวันต้องทำงานเกี่ยวกับงานฝีมือหรืองานที่ต้องใช้ความชำนาญในการเพ่งสายตาเป็นพิเศษ
การรักษาโรคตาขี้เกียจบางกรณีสามารถทำได้ด้วยการผ่าตัด แต่ส่วนใหญ่แล้วแพทย์มักจะเลือกวิธีกระตุ้นให้ตาข้างที่ไม่ทำงานกลับมาทำงานอีกครั้งด้วยการปิดตาที่มองเห็นชัดเจนไว้ แต่ถ้าไม่ปิดก็อาจกระตุ้นด้วยสารเคมีหรือกายภาพบำบัด แต่เพราะเป็นเด็กเล็กเลยไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร ดังนั้นเด็กที่เกิดมาควรจะได้รับการสังเกตจากผู้ดูแลว่ามีภาวะตาขี้เกียจเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามีต้องรีบพาไปพบจักษุแพทย์และเริ่มการรักษาทันที
โรคหนังตากระตุก
โรคหนังตากระตุกหรือโรคตากะปริบเป็นภาวะที่มีการกระพริบตาบ่อยแบบรุนแรง การกระพริบจะเกิดขึ้นเองโดยควบคุมไม่ได้ บางคนที่เป็นโรคหนังตากระตุกหนักมาก ๆ จะทำให้เปลือกตาเกร็งและบดบังการมองเห็น โรคหนังตากระตุกมีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อรอบดวงตาทำงานผิดปกติ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มที่ไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด ซึ่งประเภทนี้พบได้บ่อยมากแต่ไม่ร้ายแรง แต่ประเภทที่ 2 จะทราบสาเหตุชัดเจนที่อาจมาจาก โรคพาร์กินสัน โรคจิต โรคก้านสมองขาดเลือด ตลอดถึงผลข้างเคียงจากการใช้ยาและสารเคมี
ผู้ที่มีอาการโรคหนังตากระตุกจะมีอาการตาแพ้แสง เจ็บตา แสบตา ตาแห้ง ประกอบกับน้ำตาไหลตลอดเวลา และถ้ามีการอักเสบของดวงตาอาจจะมีอาการทางจิตร่วมด้วย ซึ่งคนที่เป็นหนักมาก ๆ จะกระพริบตาประมาณ 15 ครั้งต่อ 1 นาที ในการการกระพริบตาแต่ละครั้งเปลือกตาจะหดเกร็งอย่างรุนแรงจนบดบังทัศนวิสัยในการมองเห็นไปชั่วขณะจนอาจเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุในกรณีที่กำลังขับรถหรือควบคุมเครื่องจักร
โรคหนังตากระตุกจะมีอาการหนักขึ้นถ้าไม่ได้รับการรักษา แต่บางคนก็มองว่าไม่ได้รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันมากนักจึงไม่ค่อยสนใจ แต่ทางที่ดีควรจะเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของความผิดปกติ เพราะโรคนี้สามารถรักษาได้ด้วยการฉีดยา โบทูไลนุม ทุก ๆ 3 เดือน ในคนที่มีอาการอย่างเห็นได้ชัดอาจจะสูญเสียความมั่นใจในการใช้ชีวิตที่มีผลมาจากบุคลิกในการกระพริบตาที่ไม่ปกติ
โรคทางตายอดฮิตที่มากับยุคดิจิตอล
การมาถึงของยุคดิจิตอลทำให้ผู้คนไม่ว่าจะวัยไหนต่างใช้งานอุปกรณ์ประจำตัวอย่างสมาร์ทโฟนเป็นประจำจนเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคตามมาของหลาย ๆ โรคและด้วยเทรนการทำงานที่เปลี่ยนไปทำให้ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์ได้ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือการทำงานในลักษณะของการจับจ้องบนจอแสดงผลติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งมีชื่อเรียกกันว่า computer Syndrome
อาการคอมพิวเตอร์ซินโดรมส่วนใหญ่พบได้มากในหมู่พนักงานออฟฟิศ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ซึ่งมีสาเหตุมาจากการนั่งติดโต๊ะเป็นเวลานานไม่ค่อยได้ขยับตัวยืดเส้นยืดสาย จนมีอาการปวดเมื่อยตามต้นคอ หัวไหล่ ปวดหลัง ปวดศีรษะ และ ที่สำคัญจะมีอาการเมื่อยล้าของดวงตาจากการใช้งานหนักมากเป็นพิเศษ
โรคที่มากับยุคดิจิตอลในส่วนของร่างกายส่วนอื่น ๆ สามารถหายได้เป็นปกติโดยใช้เวลาไม่นานจากการออกกำลังกายและการพักผ่อนเพียงเล็กน้อย ร่างกายก็ฟื้นฟูกลับมามีสภาพแข็งแรงแบบเดิมแล้ว แต่สำหรับดวงตาซึ่งเป็นอวัยวะที่อ่อนแอมากที่สุดจะเสียหายได้แบบถาวร จนมีโอกาสพัฒนาไปเป็นโรคที่ร้ายแรงอย่างโรคต้อหิน โรคม่านตาอักเสบ โรคเยื่อบุตาอักเสบตลอดจนลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียงได้อย่างโรคหวัดและไซนัส
หนทางที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคที่มากับยุคดิจิตอล คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไหม้เหมาะสม หมั่นขยับร่างกายไม่นั่งติดเก้าอี้นานเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการเล่นโทรศัพท์ การใช้งานคอมพิวเตอร์ ควรจะมีท่าทางที่ถูกลักษณะ ไม่ก้ม ไม่หลังค่อมจนเป็นต้นเหตุของโรคที่กล่าวมา
โรคตาแดง
โรคตาแดงพบได้มากในเด็กเล็กเพราะมีภูมิคุ้มกันต่ำ ยิ่งอยู่ในแหล่งอัดอย่างโรงเรียนอนุบาล ศูนย์เด็กเล็กก็ยิ่งมีโอกาสติดต่อกันได้มาก ทั้งนี้ก็ต้องจำแนกให้ได้ก่อนว่าอาการที่เป็นอยู่นั้นเป็นโรคตาแดงจริงหรือว่าเป็นโรคอื่น ๆ ซึ่งพบได้บ่อย อย่าง การแพ้แสงแดด การระคายเคือง การได้รับอุบัติเหตุ การอักเสบ ถูกฝุ่นละออง การขยี้ตา แม้กระะทั่งการอดนอน
โรคตาแดงนั้นเป็นโรคที่มีระยะเวลาฟักตัวตั้งแต่ 1 วันถึง 2 สัปดาห์ ซึ่งจะแสดงอาการขึ้นมาแบบสุ่ม เพราะเกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม อะดีโนไวรัส และ เอนเทโรไวรัส ที่ติดต่อได้ง่ายโดยตรงจากการสัมผัส โดยเฉพาะในฤดูฝน ไวรัสเหล่านี้จะเจริญเติบโตบริเวณผิวตาขาวซึ่งเป็นต้นเหตุของอาการอักเสบระคายเคืองทำให้มีน้ำตาไหลและตาขาวมีสีแดงที่มีลักษณะเป็นจ้ำ
โรคตาแดงสามารถหายได้เองถ้ามีสภาพร่างกายแข็งแรง โดยทั่วไปจะกินเวลาประมาณ 7 ถึง 14 วันแต่ในกรณีที่เป็นหนักขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งมักพบในบริเวณที่อยู่อาศัยกันเป็นหมู่ โรคจะติดต่อกันวนเวียนไปมาไม่หายสักที ก็ต้องกำจัดต้นเหตุของการติดต่อยางการสัมผัสโดยตรง การอยู่ร่วมกัน ปกติแล้วในกรณีของศูนย์เด็กเล็กหรือโรงเรียนอนุบาลมักจะมีการปิดโรงเรียนเพื่อให้คนที่เป็นโรคตาแดงหายก่อน ถ้าใครที่เป็นโรคตาแดงแล้วมีอาการหนัก มีการระคายเคืองมากและอาจจะมีอาการตาพร่ามัวร่วมด้วยควรจะพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยเพราะมีโอกาสเป็นโรคต้อหินในเวลาอันใกล้
โรคต้อกระจก
โรคต้อมีหลายชนิดมีทั้งต้อลม ต้อเนื้อ ต้อหินเรื้อรัง แต่วันนี้จะมาพูดถึงโรคต้อกระจก ซึ่งเป็นโรคที่ไม่ค่อยอันตรายเท่าไหร่เมื่อเทียบกับโรคต้อหิน ผู้ที่เป็นโรคต้อกระจกจะมีลักษณะแก้วตาสีขุ่นที่เกิดจากเนื้อแก้วตาเสื่อมจนขัดขวางไม่ให้แสงส่องกระทบเข้าไปจนถึงจอประสาทตา โรคนี้พบได้บ่อยในผู้สูงอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ปกติแล้วมีสาเหตุมาจากอายุที่มากขึ้นหรือเรียกว่าเป็นโรคชราก็ได้ แต่ก็มีสาเหตุจากโรคม่านตาอักเสบเรื้อรัง การได้รับบาดเจ็บบริเวณดวงตาโดยตรง การใช้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ การขาดสารอาหารในวัยเด็ก และนอกจากนี้ถ้าหากมารดาเป็นโรคหัดเยอรมันในช่วงตั้งครรภ์ทารก 3 เดือนแรกจะทำให้ทารกที่เกิดมาเป็นโรคต้อกระจกตั้งแต่เกิดอีกด้วย
สาเหตุที่ต้อกระจกทำให้การมองเห็นแย่ลงเกิดจากแก้วตาเปลี่ยนสภาพจนบังแสงสว่าง ดังนั้นเมื่ออยู่ในสถานที่ ๆ มีแสงจ้ารูม่านตาจะหดตัวลงทำให้รับแสงได้น้อยกว่าเดิม ตรงข้ามกับกรณีที่อยู่ในที่มืดสลัวคนที่เป็นโรคต้อกระจกจะมองเห็นได้ชัดมากขึ้นเพราะม่านตาขยายรับแสงได้ดี
โรคต้อกระจกไม่ใช่โรคร้ายแรง ถ้ามีอาการตาแดง ปวดตา โดยเฉพาะนัยน์ตามีสีขุ่นควรจะไปพบแพทย์ เมื่อพบแล้วแพทย์ก็จะรักษาประคองอาการโดยการให้ยาบางชนิดแล้วกลับไปใช้ชีวิตแบบปกติและรอจนกระทั่งต้อกระจกพัฒนาไปอยู่ในขั้นที่เรียกว่าต้อสุขเต็มที่ก็จะมาผ่าตัดลอกต้อ ซึ่งหลังจากลอกต้อแล้วก็จะกลับมามองเห็นได้เหมือนเดิม